Thursday, September 13, 2012

Flocking Process

Flocking Process
  ประวัติความเป็นมา
ตามประวัติศาสตร์อ้างว่า เรื่อง flocking สามารถตรวจสอบกลับไปได้ว่า มันถูกค้นพบเมื่อประมาณ 1000 ปีก่อนคริสตศักราช ในประเทศ จีน มีการนำเอา  กาวเรซินมาใช้ในการยึดติดระหว่างเส้นใยธรรมชาติกับผืนผ้า ในเยอรมัน ในช่วงยุคกลาง มีการนำเอาฝุ่นของเส้นใยมาเคลือบลงบนพื้นผิว ในการทำผนัง หรือปกปิดผนัง ในฝรั่งเศสเช่นกัน ผนังที่ทำจากเส้นใยได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้า หลุยส์ที่สิบสี่ของฝรั่งเศส
 
                                                  Flocking. 1 fiber (flock). 2 glue. 3 Substrate


   T-Shirt พิมพ์ด้วยเทคนิค flocking (ในส่วนครึ่งล่าง)

Flocking เป็นกระบวนการของการเคลื่อนย้ายอนุภาคขนาดเล็กของหลายๆ
เส้นใย (เรียกว่า Flock) ลงบนพื้นผิววัสดุ หรือชิ้นงานที่ต้องการ นอกจากนี้ เรายัง
สามารถนำเส้นใยเล็กๆเหล่านี้ไปใช้ในการผลิตเป็นกระบวนการสำหรับการตกแต่งพื้นผิว ที่เรียกกันว่า flocked Surface
Flocking ในอีกนัยยะหนึ่งนั้น เป็นกระบวนการผลิตเพื่อ เพิ่มมูลค่าของสินค้า ในแง่ของความรู้สึกสัมผัสความงามของสีและลักษณะที่ปรากฏ นอกจากนี้ยังสามารถทำเป็น ฉนวน กันลื่นหรือจับ และการลดของแสงสะท้อน
การนำไปใช้งาน
Flocking ถูกนำไปใช้ในหลายๆงานด้วยกัน ตัวอย่างหนึ่งคือ ใน การสร้างตัวแบบ (Model Building) ที่ เป็นส่วนของหญ้า เนื้ออนุภาคเล็กๆเหล่านี้ ถูกนำไปใช้ทำเป็น
พื้นผิวคล้ายต้นหญ้า ที่ทำให้มันดูเหมือนจริงมากขึ้น ในทำนองเดียวกันมันถูกใช้
โดยผู้สร้างรถตัวอย่าง (Model Car) ที่นำมาทำให้ดูเหมือนเป็น พรม ที่ใช้ปูในรถ หรือนำมาใช้พ่นบน ต้นคริสต์มาส โดยนำมาพ่นเป็นปุยสีขาวๆ เพื่อให้ดูเหมือนกับ หิมะ นอกจากนี้ ยัง อาจจะพ่นให้เป็น เหมือนกับผ้า กำมะยี่ เช่น เสื้อยืด , วอลล์เปเปอร์ , ของที่ระลึก หรือ หนังที่หุ้มเบาะ
นอกจากการนำไปประยุกต์สำหรับการทำให้พื้นผิวอ่อนนุ่มเหมือนกำมะยี่แล้ว ยังมีเทคนิคต่างๆในการทำ flocking ซึ่งเป็นวิธีการให้สีต่างๆ รวมถึงการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์อีกด้วย เริ่มตั้งแต่การทำ Silk Screen ไปจนถึงการพิมพ์ดิจิตอลที่ทันสมัย ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มสีสันลวดลายบนเนื้อผ้า เสื้อผ้าหรือหนังสือ ในรูปแบบการ
มีสีสันที่หลากหลาย ซึ่งเราจะสามารถเห็นได้ในงานศิลปโดยทั่วไปในปัจจุบัน
สำหรับการนำเอา Flocking เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งนี้เพื่อ
วัตถุประสงค์ในการตกแต่ง หรืออาจจะนำวัสดุที่ขนาดแตกต่างกันมาใช้ ในรถยนต์
ที่ใช้ในการแข่งความเร็ว มีเป็นจำนวนมากที่แผงหน้าปัทย์ ถูกเคลือบด้วย flocked เพื่อลดการสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ผ่านกระจกหน้ารถจนถึงปัจจุบันศิลปของ
การทำ flocking ในครั้งแรก ถูกนำมาแสดงที่ในงาน "Flockage: ความมหัศจรรย์
ของ flock" International Exhibition ใน Russell-Cotes Art Gallery & Museum ใน Bournemouth
ในวงการอุตสาหกรรมการถ่ายภาพ flocking ถือเป็นหนึ่งในวิธีการที่ถูกนำมา ใช้ใน การลดการสะท้อนของแสงของพื้นผิว รวมทั้งการเคลือบภายในกล้อง และ ตัวครอบเลนส์ นอกจากนี้ยังใช้ในวงการผลิตภาพยนต์ เพื่อให้เกิดความแน่น เช่น ในตลับใส่ฟิล์ม 135 (ขนาด 35 มม.)
Flock ประกอบด้วย เส้นใยสังเคราะห์ที่มีลักษณะเหมือนขนเล็ก ๆ การพ่น ผงกำมะยี่ จะให้ความรู้สึกเหมือนกำมะหยี่ และยกระดับขึ้น ความสูงของเส้นใย สามารถให้เห็นถึงความแตกต่างกันไปในลักษณะของผลิตภัณฑ์ flocked ที่มีเส้น ใยที่บาง ๆ เมื่อติดอยู่บนพื้นผิวแล้วจะให้ความนุ่ม เหมือนกำมะยี่ ส่วนเส้นใยที่หนา ก็จะให้ความรู้สึกเป็นขนตั้งชันเหมือนขนของสัตว์

กระบวนการ
Flocking เป็นวิธีการประยุกต์โดยนำเอาอนุภาคขนาดเล็กๆมาเคลือบลงบน
ผิวของกาว ในปัจจุบันนี้ มักจะทำโดยการประยุกต์ใช้ สนามของไฟฟ้าสถิตย์แรง ดันสูงมาเป็นตัวช่วย ในเครื่องพ่นกำมะยี่ “flocking” นี้ ตัว “ผงกำมะยี่” ที่พ่นออก มาจะเป็น ประจุลบ ในขณะที่ “ชิ้นงาน” จะเป็นสายดิน ผงกำมะยี่จะถูกพ่นลงไป ให้มันตั้งฉาก กับพื้นผิวของชิ้นงานที่ทำการพ่น/ติดกาวที่ถูกเตรียมมาก่อนหน้านี้ เราสามารถสร้างความแตกต่างของชิ้นงานโดนการใช้กระบวนการทำ Flocked ได้ไม่ว่าวัสดุนั้นๆจะเป็นสิ่งทอ ผ้า ผ้าทอ กระดาษ พีวีซี ของเล่น ฟองน้ำ และ พลาสติกชิ้นส่วนในยานยนต์
โดยส่วนใหญ่แล้ว การทำ flocking มีทำอยู่ทั่วโลก โดยใช้เส้นใยจากธรรมชาติ หรือ เส้นใยสังเคราะห์ ชิ้นงานพ่นกำมะยี่ที่แล้วเสร็จเผยให้เห็น ลักษณะของการตก แต่งและ / หรือการทำงานที่มีต่อพื้นผิว ความหลากหลายของวัสดุที่ถูกนำมาใช้บน พื้นผิวต่างๆนั้น ได้ผ่านวิธีการสร้างสรรค์ต่าง ๆ นานาของกระบวนการ flocking ที่แตกต่างกัน ซึ่งสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ดังนั้น กระบวนการ flocking จะถูกนำไปใช้ในสินค้าตั้งแต่สินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ขาย ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของทหาร

No comments:

Post a Comment