Monday, September 24, 2012

Infinite Chrome

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน 2555


มีโอกาสได้เข้าไปที่ 
บริษัท ล้อย่งเส็ง จำกัด 149 หมู่ที่ 5 พุทธมณฑลสายที่ 5
ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 74130
โทร. 02-810-3670-1
โทรสาร. 02-810-3672
มือถือ. 086-701-3040, 084-008-1848
E-Mail. prasarnh@hotmail.com

บริษัทฯ ทำทั้งชุดโครม ไฟฟ้า และพ่นโครม

พ่นโครม
สารเคมี
1. เคมี A ทางผู้จำหน่าย แจ้งว่าเป็นตัวที่มีส่วนผสมของเงินอยู่และมีราคาแพงที่สุด
2. เคมี R ใช้ร่วมกับ A พ่นออกที่ปืนที่มีสอง หัวพ่น External Mix
3. เคมี S ผู้จำหน่ายแจ้งว่าเป็นตัวกระตุ้นผิว 
4. เคมี ป้องกันฝ้า ใช้ใส่กระป๋อง Foggy พ่นในตอนท้ายสุดของกระบวนการ
5. สีที่ใช้ผสมกับ Top Coat มีลักษณะเป็นน้ำ ให้มา 4 สี คือ น้ำเงิน เหลือง แดง + โครเมียม
6. สีรองพื้น เป็นสีดำ 1K 
7. สี Top Coat + Hard ไม่ต้องใส่ Thinner

กระบวนการ
1. ก่อนพ่นโครม สามารถพ่นชิ้นงานด้วย Primer สำหรับแต่ละวัสดุ อบ และขัดชิ้นงานใหเรียบมากที่สุด (Primer ตามท้องตลาดทั่วไปได้)
2. พ่นสีรองพื้นสีดำ (6) พ่นบางที่สุด แต่ให้มีลักษณะเป็นเงา ตึงผิว คือใช้ได้ (พ่นบาง เพราะถ้าหนามันจะย่น ตอนที่อบ) จากนั้นอบที่ 65 องศา เป็นเวลา 2 ช.ม. (นานมากสำหรับสี 1K แต่อาจเป็นเพราะต้องการให้สีชั้นในแห้งสนิทจริงๆ)
3. พ่นเคมี S (3) เพื่อกระตุ้นผิวงาน โดยพ่นให้ทั่ว
4. ล้างด้วยน้ำ DI (สังเกตว่าล้างน้ำนานพ่อสมควร เพื่อให้มั่นใจว่าล้างตัว S ออกไปหมดจริง)
5. พ่นเคมี AR สองหัว เพื่อทำให้เป็นสีเงิน วิธีการคือพ่นให้ทั่ว งานจะค่อยๆกลายเป็นสีเงิน จากนั้นจึง
6. พ่นล้างด้วยน้ำ DI ให้สะอาด
7. พ่นน้ำยากันฝ้า (4) ลักษณะเหมือนเราพ่นล้อรถให้ดำ พอโดนน้ำแล้วน้ำไม่เกาะ
8. พ่นล้างด้วยน้ำ DI ให้สะอาด น้ำจะไม่ค่อยเกาะชิ้นงานแล้ว
9. เป่าลมให้แห้ง
10. นำไปอบ 15 นาที (Just get dry)
11. ผสมสี Top Coat ตามสัดส่วนที่กำหนด + แม่สีตามสัดส่วนที่กำหนด
12. นำมาพ่นเคลือบชิ้นงานตามต้องการ
13. อบให้แห้ง

ข้อสังเกต
- เคมีเกือบทุกตัว เป็นเคมีเข้มข้น ก่อนใช้ต้องผสมน้ำ DI ส่วนใหญ่ในอัตราส่วน 50 cc./Lite and 100 cc./Lite
- ความยุ่งยากในการผสมเคมี น้อย คล้ายกับของ Spectra Chrome (Mr.Adam)
- สิ่งที่ไม่เคยพบในยี่ห้ออื่น และเพิ่มขึ้นมาคือ ตัวกันฝ้า ใช้ Foggy พ่อนในตอนท้าย (4)
- ตัวแม่สี มีสี โครเมี่ยม ให้เสร็จเรียบร้อย และใช้ในปริมาณที่ระบุเป็น cc. ได้ ดังนั้นเราเพียงแต่นำไปผสมกับ Top Coat ในสัดส่วนที่ถูกต้องเท่านั้น
- ตัวสีโครเมียม เป็นตัวทำให้หลัง Top Coat แล้วชิ้นงานยังคงมีสีเงินอยู่ หากไม่ใส่ก็จะกลายเป็นสีทอง ผู้จำหน่ายแจ้งว่า โดยธรรมชาติของ Top Coat ใสจะเป็นสีเหลืองอยู่แล้ว (คล้ายกับ CTS แต่ผสมมาให้เสร็จแล้ว)
- น้ำใช้เป็นน้ำ DI โดยทาง Infinite Chrome มีแพลทน้ำขนาด ใหญ่พอสมควร เจ้าของแจ้งว่าราคา ประมาณ 3 แสนบาท
- ได้ทดลองพ่นกันทุกคน ผลก็ออกมาเงิน

อื่นๆ
- ได้เห็นการทำบูธพ่นสีเอง ทำ Wet Scrabble เอง ก็น่าสนใจดี

รูปภาพประกอบ



http://www.youtube.com/watch?v=Z7s-q_u3umA&feature=youtube_gdata

Thursday, September 13, 2012

Water Sticker

Water Sticker

ความเป็นมา
    Water Sticker หรือที่เรียกกันทั่วไป คือ สติคเกอร์น้ำ หรือรูปลอกน้ำ เป็นลักษณะของการตกแต่งผิวหน้าของชิ้นงานแบบหนึ่ง ที่พบเห็นกันโดยทั่วไป ในการตกแต่งชิ้นงานบนด้านข้างรถของรถยนต์ และ จักรยานยนต์ ให้มีรูปลักษณ์ตามที่ออกแบบไว้

    ลักษณะของ Water Sticker เป็นงานพิมพ์ ตามรูปแบบที่ออกแบบไว้ หรือตามแบบที่ต้องการ ลงบนวัสดุที่ใช้เป็นฐาน หรือ Film ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติเดียวกันกับวัสดุหรือชิ้นงานที่จะนำไปติด เช่น ABS PP เป็นต้น คล้ายๆกับกระบนการทำฟิล์มในระบบ Cubic Printing โดยมีความแตกต่างกันที่วัสดุที่ำมาทำเป็นแผ่นฟิล์มนี้จะไม่ละลายน้ำ แต่ขะให้ความยือหยุ่นได้ดีและไม่ขาดง่ายเมื่อนำมาทำการแช่น้ำ หรือพ่นน้ำ จากนั้นนำแผ่นฟิล์มนั้นๆมาทำการพิมพ์ตามรูปแบบที่กำหนดลงบนฟิล์มนั้นๆ ทำการอบให้สีที่ทำการพิมพ์แห้ง ปิดด้วยฟิล์มป้องกันการรอย (Protection film) เพื่อรอการนำไปใช้
    เมื่อต้องการนำมาใช้งาน ให้นำฟิล์มดังกล่าวทำการแช่น้ำ พร้อมทั้งพ่นน้ำลงบนวัสดุ หรือชิ้นงานที่ต้องการตกแต่ง จากนั้นนำแผ่นฟิล์มนั้นๆวางลงไป และทำการรีดน้ำออกด้วยตัวรีดน้ำ (ลักษณะการทำงานคล้ายการติดฟิล์มกรองแสงทั่วๆไป) ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการเป็นฟองอากาศ การยับ ย่น หรือ ฟิล์มขาด เมื่อได้ที่แล้วเสร็จ ทำการลอกฟิล์มกันรอยออก แล้วนำเข้าเตาอบ
    โดยทั่วไป หลังจากจบกระบวนการนี้แล้ว ส่วนมากมักจะทำการพ่น Top Coat ทับ เพื่อเพิ่มความสวยงาม หรือเพื่อป้องกันการขูดขีด เป็นรอยในอนาคต
กระบวนการผลิต

UV Coating

UV Coating

3D Dipping Process

3D Dipping Process

Real Kevlar lamination

Real Kevlar Lamination

Real Wood Lamination

Real Wood Lamination

Powder Coating

Powder Coating

1. Story : เป็นงานการพ่นสี แบบผง ลงบนชิ้นงาน โดยอาศัยปืนพ่นสีแบบไฟฟ้า เพื่อให้เกิดการยึดเกาะ และสามารถควบคุมปริมาณของสีที่ใช้ และความหนาของสีที่ออกมา พบทั่วๆไปในผลิตภัณฑ์ที่เป็นโลหะ เช่น ตู้เฟอร์นิเจอร์เหล็กที่ใช้ตามสำนักงาน ตู้ไมโครเวฟ เป็นต้น

2. Process : 
             Powder Booth ---> Painting ---> Drying ---> Inspection ---> Pack

3. Investment : 
    3.1 Machine : สามารถดำเนินการได้ ในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ในเชิงที่ไม่เป็น Conveyor Line
    3.2 Material : สามารถหาซื้อได้ภายในประเทศ

4. ข้อเด่น ข้อด้อย :
    4.1 ข้อเด่น : 1. สามารถทำการพ่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีทักษะมากนัก
                        2. ให้ความสวยงานและคงทน ดีกว่าสีน้ำที่พ่น
                        3. การสูญเสียในเรื่องของ Material น้อย เนื่องจากสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

   4.2 ข้อด้อย : 1. มีอันตรายในการใช้ปืนไฟฟ้า ที่อาจเกิดการลัดวงจรอันเนื่องจากการใช้งาน
                        2. ตลาดค่อนข้างแคบ ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักลงทุนทำการผลิตเอง

Vaccum Forming

Vaccum Forming

Vaccum Metalizing Process

Vaccum Metalizing Process


Flocking Process

Flocking Process
  ประวัติความเป็นมา
ตามประวัติศาสตร์อ้างว่า เรื่อง flocking สามารถตรวจสอบกลับไปได้ว่า มันถูกค้นพบเมื่อประมาณ 1000 ปีก่อนคริสตศักราช ในประเทศ จีน มีการนำเอา  กาวเรซินมาใช้ในการยึดติดระหว่างเส้นใยธรรมชาติกับผืนผ้า ในเยอรมัน ในช่วงยุคกลาง มีการนำเอาฝุ่นของเส้นใยมาเคลือบลงบนพื้นผิว ในการทำผนัง หรือปกปิดผนัง ในฝรั่งเศสเช่นกัน ผนังที่ทำจากเส้นใยได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้า หลุยส์ที่สิบสี่ของฝรั่งเศส
 
                                                  Flocking. 1 fiber (flock). 2 glue. 3 Substrate


   T-Shirt พิมพ์ด้วยเทคนิค flocking (ในส่วนครึ่งล่าง)

Flocking เป็นกระบวนการของการเคลื่อนย้ายอนุภาคขนาดเล็กของหลายๆ
เส้นใย (เรียกว่า Flock) ลงบนพื้นผิววัสดุ หรือชิ้นงานที่ต้องการ นอกจากนี้ เรายัง
สามารถนำเส้นใยเล็กๆเหล่านี้ไปใช้ในการผลิตเป็นกระบวนการสำหรับการตกแต่งพื้นผิว ที่เรียกกันว่า flocked Surface
Flocking ในอีกนัยยะหนึ่งนั้น เป็นกระบวนการผลิตเพื่อ เพิ่มมูลค่าของสินค้า ในแง่ของความรู้สึกสัมผัสความงามของสีและลักษณะที่ปรากฏ นอกจากนี้ยังสามารถทำเป็น ฉนวน กันลื่นหรือจับ และการลดของแสงสะท้อน
การนำไปใช้งาน
Flocking ถูกนำไปใช้ในหลายๆงานด้วยกัน ตัวอย่างหนึ่งคือ ใน การสร้างตัวแบบ (Model Building) ที่ เป็นส่วนของหญ้า เนื้ออนุภาคเล็กๆเหล่านี้ ถูกนำไปใช้ทำเป็น
พื้นผิวคล้ายต้นหญ้า ที่ทำให้มันดูเหมือนจริงมากขึ้น ในทำนองเดียวกันมันถูกใช้
โดยผู้สร้างรถตัวอย่าง (Model Car) ที่นำมาทำให้ดูเหมือนเป็น พรม ที่ใช้ปูในรถ หรือนำมาใช้พ่นบน ต้นคริสต์มาส โดยนำมาพ่นเป็นปุยสีขาวๆ เพื่อให้ดูเหมือนกับ หิมะ นอกจากนี้ ยัง อาจจะพ่นให้เป็น เหมือนกับผ้า กำมะยี่ เช่น เสื้อยืด , วอลล์เปเปอร์ , ของที่ระลึก หรือ หนังที่หุ้มเบาะ
นอกจากการนำไปประยุกต์สำหรับการทำให้พื้นผิวอ่อนนุ่มเหมือนกำมะยี่แล้ว ยังมีเทคนิคต่างๆในการทำ flocking ซึ่งเป็นวิธีการให้สีต่างๆ รวมถึงการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์อีกด้วย เริ่มตั้งแต่การทำ Silk Screen ไปจนถึงการพิมพ์ดิจิตอลที่ทันสมัย ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มสีสันลวดลายบนเนื้อผ้า เสื้อผ้าหรือหนังสือ ในรูปแบบการ
มีสีสันที่หลากหลาย ซึ่งเราจะสามารถเห็นได้ในงานศิลปโดยทั่วไปในปัจจุบัน
สำหรับการนำเอา Flocking เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งนี้เพื่อ
วัตถุประสงค์ในการตกแต่ง หรืออาจจะนำวัสดุที่ขนาดแตกต่างกันมาใช้ ในรถยนต์
ที่ใช้ในการแข่งความเร็ว มีเป็นจำนวนมากที่แผงหน้าปัทย์ ถูกเคลือบด้วย flocked เพื่อลดการสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ผ่านกระจกหน้ารถจนถึงปัจจุบันศิลปของ
การทำ flocking ในครั้งแรก ถูกนำมาแสดงที่ในงาน "Flockage: ความมหัศจรรย์
ของ flock" International Exhibition ใน Russell-Cotes Art Gallery & Museum ใน Bournemouth
ในวงการอุตสาหกรรมการถ่ายภาพ flocking ถือเป็นหนึ่งในวิธีการที่ถูกนำมา ใช้ใน การลดการสะท้อนของแสงของพื้นผิว รวมทั้งการเคลือบภายในกล้อง และ ตัวครอบเลนส์ นอกจากนี้ยังใช้ในวงการผลิตภาพยนต์ เพื่อให้เกิดความแน่น เช่น ในตลับใส่ฟิล์ม 135 (ขนาด 35 มม.)
Flock ประกอบด้วย เส้นใยสังเคราะห์ที่มีลักษณะเหมือนขนเล็ก ๆ การพ่น ผงกำมะยี่ จะให้ความรู้สึกเหมือนกำมะหยี่ และยกระดับขึ้น ความสูงของเส้นใย สามารถให้เห็นถึงความแตกต่างกันไปในลักษณะของผลิตภัณฑ์ flocked ที่มีเส้น ใยที่บาง ๆ เมื่อติดอยู่บนพื้นผิวแล้วจะให้ความนุ่ม เหมือนกำมะยี่ ส่วนเส้นใยที่หนา ก็จะให้ความรู้สึกเป็นขนตั้งชันเหมือนขนของสัตว์

กระบวนการ
Flocking เป็นวิธีการประยุกต์โดยนำเอาอนุภาคขนาดเล็กๆมาเคลือบลงบน
ผิวของกาว ในปัจจุบันนี้ มักจะทำโดยการประยุกต์ใช้ สนามของไฟฟ้าสถิตย์แรง ดันสูงมาเป็นตัวช่วย ในเครื่องพ่นกำมะยี่ “flocking” นี้ ตัว “ผงกำมะยี่” ที่พ่นออก มาจะเป็น ประจุลบ ในขณะที่ “ชิ้นงาน” จะเป็นสายดิน ผงกำมะยี่จะถูกพ่นลงไป ให้มันตั้งฉาก กับพื้นผิวของชิ้นงานที่ทำการพ่น/ติดกาวที่ถูกเตรียมมาก่อนหน้านี้ เราสามารถสร้างความแตกต่างของชิ้นงานโดนการใช้กระบวนการทำ Flocked ได้ไม่ว่าวัสดุนั้นๆจะเป็นสิ่งทอ ผ้า ผ้าทอ กระดาษ พีวีซี ของเล่น ฟองน้ำ และ พลาสติกชิ้นส่วนในยานยนต์
โดยส่วนใหญ่แล้ว การทำ flocking มีทำอยู่ทั่วโลก โดยใช้เส้นใยจากธรรมชาติ หรือ เส้นใยสังเคราะห์ ชิ้นงานพ่นกำมะยี่ที่แล้วเสร็จเผยให้เห็น ลักษณะของการตก แต่งและ / หรือการทำงานที่มีต่อพื้นผิว ความหลากหลายของวัสดุที่ถูกนำมาใช้บน พื้นผิวต่างๆนั้น ได้ผ่านวิธีการสร้างสรรค์ต่าง ๆ นานาของกระบวนการ flocking ที่แตกต่างกัน ซึ่งสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ดังนั้น กระบวนการ flocking จะถูกนำไปใช้ในสินค้าตั้งแต่สินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ขาย ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของทหาร

Injection & Inmold Injection

Injection & In-mold Injection

1. Story :
    Injection คือ การฉีดชิ้นงานพลาสติดด้วยเครื่องฉีด โดยมี Mold (แม่พิมพ์) เป็นแบบในการขึ้นรูป โดยนำเม็ดพลาสติคมาหลอมเหลว แล้วฉีดเข้าสู่แม่พิมพ์
    In-mold Injection คือ การพิมพ์ลวดลายต่างๆลงบนผิวหน้าของชิ้นงาน ด้วยการผสมผสานกันระหว่าง Injection Process กับ ฟิล์มลวดลาย โดยการนำเอาฟิล์มที่เป็นลวดลายเข้ามาไว้ในแบบพิมพ์ด้านหน้าของชิ้นงาน แล้วทำการฉีดพลาสติคเข้าไป เมื่อออกมาก็จะได้ชิ้นงานที่ลวดลายอยู่ด้านหน้า

2. Process
    Film Printing ----> Insert Film into Mold ----> Injection ----> finished

3. Investment
    ขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องฉีด

4. ข้อเด่น ข้อด้อย
     ข้อเด่น 1. มีความเร็วในการผลิต สามารถตอบสนองปริมาณการผลิตจำนวนมากได้
                 2. คุณภาพของการยึดเกาะดีเยี่ยม
                 3. Defect อันเกิดจากการผลิตน้อย

     ข้อด้อย 1. ไม่สามารถทำบนชิ้นงานที่มีความโค้ง หรือมีรูปทรง
                  2. Mold เป็นแบบเฉพาะ ที่ต้องใช้กับเรื่องทำ In-mold เท่านั้น

Chrome Sprayed Plating

Comparing ...

1. CTS Chrome

Process: NSP technology


Chemical: K1, K2, A1, A2, B, S
Price:
NSP Machine+ NSP Chemicals Bundle
1 NSP Mini version Machine-Model (CTS 101) (Only with 6 spray Guns): USD 5000 FOB China or Taiwan + 1 set of Minimum Order quantity (MOQ) of NSP Chemicals: USD 4580 FOB China or Taiwan. (1 MOQ=5 drums in K1, K2, A1, A2, S and 10 drums in B, each drum=20 Liter)

NSP Machine Only
1 NSP Mini version Machine-Model (CTS 101) (Only with 6 spray Guns): USD 6000 FOB China or Taiwan

2. Spectra Chrome (Mr.Adam @Pattaya)

Process:
 1.Base Coat (Primer)
 2.Metal Spray (DI Water > Solvent > DI Water > AB > DI Water > Air blow)
 3.Top Coat (Normal PU Clear Coat)
 
Price: ตอนนี้เสนอขายอยู่ที่ 350,000 บาท 
 1. Machine

 2. small package of chemicals this will cover about 500 square ft.
 3. Includes all the chemicals you need to chrome as well as the Base coat and the top coat and the 7 different colors.
 4. And there is an on line training site that you can go to that will show you how to mix the chemicals the proper way it also will show you the right to use the base coat.
http://www.sprayonchrome.com/equipment.html


จุดเด่นคือ เคมีเป็นผง เมื่อเราจะใช้ค่อยผสมน้ำ ในสัดส่วนที่กำหนด ทำให้ประหยัดพื้นที่จัดเก็บ ขนย้ายสะดวก อีกทั้งมีเครื่องมือที่ดูดี

http://www.sprayonchrome.com/index2.html



3. Infinite Chrome

Process:
  1.Base Coat
  2.Metal Spray
  3.Top Coat

Price: มีหลายราคา
 - ชุดเล็ก เคมี อย่างเดียว 30,000 บาท
 - ชุดกลาง เคมี + อุปกรณ์พ่นชุดเล็ก มีแค่หัวพ่น 50,000 บาท
 - ชุดใหญ่ เคมี + อุปกรณ์พ่นชุดใหญ่ มีถังบรรจุเคมี 100,000 บาท


เท่าที่สังเกต มีถังบรรจุเคมี 4 ถัง น่าจะเป็น น้ำ เคมี A เคมี B และ Solvent ซึ่งเหมือนกับ Spectra Chrome (Mr.Adam)
จุดเด่นคือผู้ขายอยู่เมืองไทย พุทธมณฑลสายที่ 5
http://www.infinitechrome.com/