Monday, September 24, 2012

Infinite Chrome

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน 2555


มีโอกาสได้เข้าไปที่ 
บริษัท ล้อย่งเส็ง จำกัด 149 หมู่ที่ 5 พุทธมณฑลสายที่ 5
ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 74130
โทร. 02-810-3670-1
โทรสาร. 02-810-3672
มือถือ. 086-701-3040, 084-008-1848
E-Mail. prasarnh@hotmail.com

บริษัทฯ ทำทั้งชุดโครม ไฟฟ้า และพ่นโครม

พ่นโครม
สารเคมี
1. เคมี A ทางผู้จำหน่าย แจ้งว่าเป็นตัวที่มีส่วนผสมของเงินอยู่และมีราคาแพงที่สุด
2. เคมี R ใช้ร่วมกับ A พ่นออกที่ปืนที่มีสอง หัวพ่น External Mix
3. เคมี S ผู้จำหน่ายแจ้งว่าเป็นตัวกระตุ้นผิว 
4. เคมี ป้องกันฝ้า ใช้ใส่กระป๋อง Foggy พ่นในตอนท้ายสุดของกระบวนการ
5. สีที่ใช้ผสมกับ Top Coat มีลักษณะเป็นน้ำ ให้มา 4 สี คือ น้ำเงิน เหลือง แดง + โครเมียม
6. สีรองพื้น เป็นสีดำ 1K 
7. สี Top Coat + Hard ไม่ต้องใส่ Thinner

กระบวนการ
1. ก่อนพ่นโครม สามารถพ่นชิ้นงานด้วย Primer สำหรับแต่ละวัสดุ อบ และขัดชิ้นงานใหเรียบมากที่สุด (Primer ตามท้องตลาดทั่วไปได้)
2. พ่นสีรองพื้นสีดำ (6) พ่นบางที่สุด แต่ให้มีลักษณะเป็นเงา ตึงผิว คือใช้ได้ (พ่นบาง เพราะถ้าหนามันจะย่น ตอนที่อบ) จากนั้นอบที่ 65 องศา เป็นเวลา 2 ช.ม. (นานมากสำหรับสี 1K แต่อาจเป็นเพราะต้องการให้สีชั้นในแห้งสนิทจริงๆ)
3. พ่นเคมี S (3) เพื่อกระตุ้นผิวงาน โดยพ่นให้ทั่ว
4. ล้างด้วยน้ำ DI (สังเกตว่าล้างน้ำนานพ่อสมควร เพื่อให้มั่นใจว่าล้างตัว S ออกไปหมดจริง)
5. พ่นเคมี AR สองหัว เพื่อทำให้เป็นสีเงิน วิธีการคือพ่นให้ทั่ว งานจะค่อยๆกลายเป็นสีเงิน จากนั้นจึง
6. พ่นล้างด้วยน้ำ DI ให้สะอาด
7. พ่นน้ำยากันฝ้า (4) ลักษณะเหมือนเราพ่นล้อรถให้ดำ พอโดนน้ำแล้วน้ำไม่เกาะ
8. พ่นล้างด้วยน้ำ DI ให้สะอาด น้ำจะไม่ค่อยเกาะชิ้นงานแล้ว
9. เป่าลมให้แห้ง
10. นำไปอบ 15 นาที (Just get dry)
11. ผสมสี Top Coat ตามสัดส่วนที่กำหนด + แม่สีตามสัดส่วนที่กำหนด
12. นำมาพ่นเคลือบชิ้นงานตามต้องการ
13. อบให้แห้ง

ข้อสังเกต
- เคมีเกือบทุกตัว เป็นเคมีเข้มข้น ก่อนใช้ต้องผสมน้ำ DI ส่วนใหญ่ในอัตราส่วน 50 cc./Lite and 100 cc./Lite
- ความยุ่งยากในการผสมเคมี น้อย คล้ายกับของ Spectra Chrome (Mr.Adam)
- สิ่งที่ไม่เคยพบในยี่ห้ออื่น และเพิ่มขึ้นมาคือ ตัวกันฝ้า ใช้ Foggy พ่อนในตอนท้าย (4)
- ตัวแม่สี มีสี โครเมี่ยม ให้เสร็จเรียบร้อย และใช้ในปริมาณที่ระบุเป็น cc. ได้ ดังนั้นเราเพียงแต่นำไปผสมกับ Top Coat ในสัดส่วนที่ถูกต้องเท่านั้น
- ตัวสีโครเมียม เป็นตัวทำให้หลัง Top Coat แล้วชิ้นงานยังคงมีสีเงินอยู่ หากไม่ใส่ก็จะกลายเป็นสีทอง ผู้จำหน่ายแจ้งว่า โดยธรรมชาติของ Top Coat ใสจะเป็นสีเหลืองอยู่แล้ว (คล้ายกับ CTS แต่ผสมมาให้เสร็จแล้ว)
- น้ำใช้เป็นน้ำ DI โดยทาง Infinite Chrome มีแพลทน้ำขนาด ใหญ่พอสมควร เจ้าของแจ้งว่าราคา ประมาณ 3 แสนบาท
- ได้ทดลองพ่นกันทุกคน ผลก็ออกมาเงิน

อื่นๆ
- ได้เห็นการทำบูธพ่นสีเอง ทำ Wet Scrabble เอง ก็น่าสนใจดี

รูปภาพประกอบ



http://www.youtube.com/watch?v=Z7s-q_u3umA&feature=youtube_gdata

Thursday, September 13, 2012

Water Sticker

Water Sticker

ความเป็นมา
    Water Sticker หรือที่เรียกกันทั่วไป คือ สติคเกอร์น้ำ หรือรูปลอกน้ำ เป็นลักษณะของการตกแต่งผิวหน้าของชิ้นงานแบบหนึ่ง ที่พบเห็นกันโดยทั่วไป ในการตกแต่งชิ้นงานบนด้านข้างรถของรถยนต์ และ จักรยานยนต์ ให้มีรูปลักษณ์ตามที่ออกแบบไว้

    ลักษณะของ Water Sticker เป็นงานพิมพ์ ตามรูปแบบที่ออกแบบไว้ หรือตามแบบที่ต้องการ ลงบนวัสดุที่ใช้เป็นฐาน หรือ Film ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติเดียวกันกับวัสดุหรือชิ้นงานที่จะนำไปติด เช่น ABS PP เป็นต้น คล้ายๆกับกระบนการทำฟิล์มในระบบ Cubic Printing โดยมีความแตกต่างกันที่วัสดุที่ำมาทำเป็นแผ่นฟิล์มนี้จะไม่ละลายน้ำ แต่ขะให้ความยือหยุ่นได้ดีและไม่ขาดง่ายเมื่อนำมาทำการแช่น้ำ หรือพ่นน้ำ จากนั้นนำแผ่นฟิล์มนั้นๆมาทำการพิมพ์ตามรูปแบบที่กำหนดลงบนฟิล์มนั้นๆ ทำการอบให้สีที่ทำการพิมพ์แห้ง ปิดด้วยฟิล์มป้องกันการรอย (Protection film) เพื่อรอการนำไปใช้
    เมื่อต้องการนำมาใช้งาน ให้นำฟิล์มดังกล่าวทำการแช่น้ำ พร้อมทั้งพ่นน้ำลงบนวัสดุ หรือชิ้นงานที่ต้องการตกแต่ง จากนั้นนำแผ่นฟิล์มนั้นๆวางลงไป และทำการรีดน้ำออกด้วยตัวรีดน้ำ (ลักษณะการทำงานคล้ายการติดฟิล์มกรองแสงทั่วๆไป) ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการเป็นฟองอากาศ การยับ ย่น หรือ ฟิล์มขาด เมื่อได้ที่แล้วเสร็จ ทำการลอกฟิล์มกันรอยออก แล้วนำเข้าเตาอบ
    โดยทั่วไป หลังจากจบกระบวนการนี้แล้ว ส่วนมากมักจะทำการพ่น Top Coat ทับ เพื่อเพิ่มความสวยงาม หรือเพื่อป้องกันการขูดขีด เป็นรอยในอนาคต
กระบวนการผลิต

UV Coating

UV Coating

3D Dipping Process

3D Dipping Process

Real Kevlar lamination

Real Kevlar Lamination

Real Wood Lamination

Real Wood Lamination

Powder Coating

Powder Coating

1. Story : เป็นงานการพ่นสี แบบผง ลงบนชิ้นงาน โดยอาศัยปืนพ่นสีแบบไฟฟ้า เพื่อให้เกิดการยึดเกาะ และสามารถควบคุมปริมาณของสีที่ใช้ และความหนาของสีที่ออกมา พบทั่วๆไปในผลิตภัณฑ์ที่เป็นโลหะ เช่น ตู้เฟอร์นิเจอร์เหล็กที่ใช้ตามสำนักงาน ตู้ไมโครเวฟ เป็นต้น

2. Process : 
             Powder Booth ---> Painting ---> Drying ---> Inspection ---> Pack

3. Investment : 
    3.1 Machine : สามารถดำเนินการได้ ในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ในเชิงที่ไม่เป็น Conveyor Line
    3.2 Material : สามารถหาซื้อได้ภายในประเทศ

4. ข้อเด่น ข้อด้อย :
    4.1 ข้อเด่น : 1. สามารถทำการพ่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีทักษะมากนัก
                        2. ให้ความสวยงานและคงทน ดีกว่าสีน้ำที่พ่น
                        3. การสูญเสียในเรื่องของ Material น้อย เนื่องจากสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

   4.2 ข้อด้อย : 1. มีอันตรายในการใช้ปืนไฟฟ้า ที่อาจเกิดการลัดวงจรอันเนื่องจากการใช้งาน
                        2. ตลาดค่อนข้างแคบ ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักลงทุนทำการผลิตเอง